เผยเทคนิคการทำโมเดลจากประสบการณ์ตรงสำหรับน้องๆนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ ตอนที่ 6 เทคนิคการประกอบชิ้นส่วนโมเดล

       มาถึงตอนที่ 6 กันแล้วนะครับหลังจากเราทราบถึงการผลิตชิ้นส่วนโมเดลด้วยเครื่องจักรกันไปแล้ว   ( อ่านย้อนหลังได้ที่ http://mayamaver.blogspot.com/2017/08/5.html ) ขั้นตอนต่อไปเรามาดูเทคนิคเบื้องต้นที่เป็นตัวช่วยที่ทำให้การประกอบงานโมเดลของเรานั้นง่ายขึ้นและออกมาเรียบร้อยสวยงาม เพราะว่าหากเราประกอบชิ้นส่วนของงานได้ออกมาเรียบร้อยจะช่วยประหยัดระยะเวลาที่เกิดจากปัญหาจากการประกอบงาน เช่น รอยต่อของงาน การต้องมาโป้วเก็บงาน ( การโป้วและขัดใช้เวลามาก ) หรือ การที่ต้องรื้อชิ้นงานออกมาประกอบใหม่
        เทคนิคที่เรามาเล่าให้ฟังนี้เป็นเทคนิคเบื้องต้นสามารถพลิกแพลงได้ตามแต่ความถนัดส่วนบุคคล เราจะมาทำการยกตัวอย่างเทคนิคต่างๆเพื่อเป็นแนวทางในการทำโมเดลเบื้องต้นกันเลยครับ
     
        1. เทคนิคการใช้ฉากเข้าช่วยในการประกอบชิ้นส่วนโมเดล เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความฉากเช่น การประกอบกล่องที่มีมุมเหลี่ยม การใช้ฉากช่วยในการประกอบจะช่วยให้เราจับชิ้นงานได้ง่ายขึ้น
และงานที่ออกมาจะมีมุมฉากไม่ต้องเสียเวลาในการขัดแต่งอีกรอบ


ตัวอย่างการต่อชิ้นงานโดยใช้ฉากช่วย


ตัวอย่างการต่อชิ้นงานโดยใช้ฉากช่วย

        2. เทคนิคการใช้ JIG เข้าช่วยในการประกอบชิ้นส่วนโมเดล ในบางครั้งการประกอบงานที่มีลักษณะซ้ำกันหลายชิ้นส่วน เราต้องออกแบบและผลิต JIG ขึ้นมาเป็นตัวช่วยในการช่วยเราประกอบงานเพื่อให้ชิ้นงานที่ประกอบขึ้นมาหลายชิ้นมีความตรงและเหมือนกันมากที่สุด


ตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้ JIG ช่วยในการประกอบขางาน


ตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้ JIG ช่วยในการประกอบขางาน


ตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้ JIG ช่วยในการประกอบงานโครงสร้าง


        3. การทำเส้นบอกตำแหน่งเวลาทำไฟล์เลเซอร์ บางครั้งการทำไฟล์เลเซอร์มาเราจะกรีดเส้นช่วยในการประกอบงาน ( Engrave ) เพื่อบอกตำแหน่งในการนำชิ้นส่วนอีกชิ้นส่วนมาประกอบเข้าด้วยกัน


ตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้การทำเส้นบอกตำแหน่งสำหรับการประกอบ

        4. การทำรูเสียบสำหรับประกอบชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นท่อ หากเรานำงานที่มีลักษณะเป็นท่อมาติดกับอีกชิ้นงานเลยโดยที่ไม่มีรูเสียบจะทำให้เนื้อสัมผัสของชิ้นงานมีน้อย ทำให้งานไม่แข็งแรงและท่อที่เราติดอาจจะเอียงได้ เราเลยต้องทำรูสำหรับเสียบเพื่อช่วยในการประกอบให้ง่ายและแข็งแรงยิ่งขึ้น


ตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้การเจาะรูสำหรับเสียบท่อ


ตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้การเจาะรูสำหรับเสียบท่อ

        5. การผสมชิ้นส่วนโมเดลจาก 2 เครื่องจักร การผลิตชิ้นส่วนไม่จำเป็นต้องมาจากเครื่องจักรเพียงชนิดเดียวเท่านั้น เราสามารถพลิกแพลงการใช้งานของเครื่องจักรหลายๆชนิดเพื่อผลิตชิ้นงาน นำมาประกอบกันให้ได้งานออกแบบที่เราต้องการได้


ตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้การผสมชิ้นส่วนจากหลายเครื่องจักร



ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ20 กันยายน 2564 เวลา 11:15

    สติ๊กเกอร์ไลน์ ชิ้นส่วนมาตรฐาน

    สกรูและสลักเกลียวในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16456268

    แหวนล๊อคในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16425794

    แหวนรองในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16425165

    น๊อตในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16400172



    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เผยเทคนิคการทำโมเดลจากประสบการณ์ตรงสำหรับน้องๆนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ ตอนที่ 1 ประเภทของโมเดล

เผยเทคนิคการทำโมเดลจากประสบการณ์ตรงสำหรับน้องๆนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ ตอนที่ 3 วัสดุในการยึดติดชิ้นงาน

เผยเทคนิคการทำโมเดลจากประสบการณ์ตรงสำหรับน้องๆนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ ตอนที่ 2 วัสดุและถิ่นที่อยู่