บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2017

เผยเทคนิคการทำโมเดลจากประสบการณ์ตรงสำหรับน้องๆนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ ตอนที่ 6 เทคนิคการประกอบชิ้นส่วนโมเดล

รูปภาพ
       มาถึงตอนที่ 6 กันแล้วนะครับหลังจากเราทราบถึงการผลิตชิ้นส่วนโมเดลด้วยเครื่องจักรกันไปแล้ว   ( อ่านย้อนหลังได้ที่ http://mayamaver.blogspot.com/2017/08/5.html ) ขั้นตอนต่อไปเรามาดูเทคนิคเบื้องต้นที่เป็นตัวช่วยที่ทำให้การประกอบงานโมเดลของเรานั้นง่ายขึ้นและออกมาเรียบร้อยสวยงาม เพราะว่าหากเราประกอบชิ้นส่วนของงานได้ออกมาเรียบร้อยจะช่วยประหยัดระยะเวลาที่เกิดจากปัญหาจากการประกอบงาน เช่น รอยต่อของงาน การต้องมาโป้วเก็บงาน ( การโป้วและขัดใช้เวลามาก ) หรือ การที่ต้องรื้อชิ้นงานออกมาประกอบใหม่         เทคนิคที่เรามาเล่าให้ฟังนี้เป็นเทคนิคเบื้องต้นสามารถพลิกแพลงได้ตามแต่ความถนัดส่วนบุคคล เราจะมาทำการยกตัวอย่างเทคนิคต่างๆเพื่อเป็นแนวทางในการทำโมเดลเบื้องต้นกันเลยครับ               1. เทคนิคการใช้ฉากเข้าช่วยในการประกอบชิ้นส่วนโมเดล เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความฉากเช่น การประกอบกล่องที่มีมุมเหลี่ยม การใช้ฉากช่วยในการประกอบจะช่วยให้เราจับชิ้นงานได้ง่ายขึ้น และงานที่ออกมาจะมีมุมฉากไม่ต้องเสียเวลาในการขัดแต่งอีกรอบ ...

เผยเทคนิคการทำโมเดลจากประสบการณ์ตรงสำหรับน้องๆนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ ตอนที่ 5 การผลิตชิ้นส่วนโมเดลด้วยเครื่องจักร

รูปภาพ
        เนื่องจากตอนที่แล้วมีน้องๆ เข้ามาถามถึงการผลิตชิ้นส่วนโมเดลว่าจะทำด้วยวิธีการไหนได้บ้าง ในตอนที่ 5 นี้เราจะมาเผยแพร่กระบวนการผลิตชิ้นส่วนที่ทางบริษัทเราใช้ผลิตงานโมเดลให้ลูกค้าในปัจจุบันให้รับทราบเพื่อเป็นความรู้แก่น้องๆกันครับ          หลังจากที่เราออกแบบโมเดลด้วยโปรแกรมสามมิติเสร็จเรียบร้อยแล้ว (ย้อนอ่านได้ที่ตอนที่ 4 http://mayamaver.blogspot.com/2017/07/4.html  ) เราจะมาดูวิธีการผลิตชิ้นส่วนโมเดลด้วยเครื่องจักรกันครับ เพราะอะไรถึงต้องใช้เครื่องจักรผลิตชิ้นส่วน เพราะว่าชิ้นส่วนที่ได้ออกมาจะมีความแม่นยำในการผลิตชิ้นส่วนออกมาตามไฟล์งานที่เราได้ออกแบบไว้ทำให้การประกอบงานง่ายและงานโมเดลที่ออกมาจะถูกต้องตามแบบที่ได้ออกแบบไว้ ปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาด ( Error ) จะน้อย โดยในบทความนี้เราจะบอกถึงหลักการทำงานคร่าวๆของเครื่องจักรที่ทางบริษัทเราใช้งานอยู่ครับ          1. การผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องเลเซอร์คัท หลักการทำงานของเครื่องคือจะมีแหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์ที่เรียกว่าหัวฉีดเลเซอร์เคลื่อนที่เป็นแกน X และ แกน Y ...

เผยเทคนิคการทำโมเดลจากประสบการณ์ตรงสำหรับน้องๆนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ ตอนที่ 4 การทำแบบโมเดลและการวางแผนการประกอบงานโมเดล

รูปภาพ
         ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำโมเดลไม่ใช่ขั้นตอนการประกอบให้งานเรียบร้อยหรือการทำสีให้สวยงาม แต่ขั้นตอนที่เราให้ความสำคัญมากที่สุดนั่นคือขั้นตอนการออกแบบชิ้นงานโมเดลและการวางแผนการประกอบงานโมเดล เพราะอะไรขั้นตอนนี้ถึงสำคัญมากที่สุด เพราะว่าขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่เราสามารถวางแผนการประกอบงานและวางแผนการทำงานทำให้สามารถทำงานออกมาได้เสร็จตามเวลาที่กำหนดรวมถึงเป็นการกำหนดขั้นตอนการทำงานว่าอะไรควรทำก่อนหรืออะไรควรทำทีหลัง เช่น การแยกพ่นสีก่อนการประกอบชิ้นงาน การออกแบบให้ชิ้นงานสามารถประกอบได้ง่าย ในที่นี้เราจะมา บอกเทคนิคการออกแบบชิ้นงานและการวางแผนก่อนการทำงานโมเดลเบื้องต้นกันครับ        การถอดแบบโมเดลจากภาพ Sketch บนกระดาษ หลังจากที่เรา Sketch งานและสรุปแบบเรียบร้อยแล้วเรามาเริ่มขั้นตอนวางแผนก่อนการทำโมเดลกันเลยครับ       สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างแรกคือ รูปทรง เราต้องพิจารณาดูว่ารูปทรงที่เราได้ออกแบบนั้นจะใช้วิธีการแบบไหนในการขึ้นรูป โดยเราจะยกตัวอย่างการทำโมเดลพลาสติกให้ชมเป็นขั้นเป็นตอนไปนะครับ ขั้นตอนที่ 1 นำแบบ Sk...

เผยเทคนิคการทำโมเดลจากประสบการณ์ตรงสำหรับน้องๆนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ ตอนที่ 3 วัสดุในการยึดติดชิ้นงาน

รูปภาพ
        วัสดุในการยึดติดชิ้นงานไม่ได้มีแค่ กาว ที่เรารู้จักกัน การเลือกใช้ประเภทของวัสดุยึดติดชิ้นงานนั้นสำคัญมากในการประกอบงาน เพราะจะช่วยลดระยะเวลาการประกอบงานให้น้อยลงและง่ายขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความเรียบร้อยให้แก่งานโมเดล เคยมั้ยครับที่เวลาเราประกอบงานแล้วมีรอยกาวเลอะเทอะทำให้งานที่ทำออกมาดูไม่เรียบร้อย ตอนที่ 3 นี้เราจะมาทำการเรียนรู้เทคนิคการเลือกใช้กาวประเภทต่างๆให้เหมาะสมกับการประกอบงานกันครับ                  1. กาว UHU / กาว Pritt มีลักษณะเหมือนกันคือกาวมีความหนืดไม่เหลวเกินไป มีสีใส เหมาะสมกับใช้ติดงานกระดาษเมื่อกาวแห้งแล้วจะมีลักษณะนิ่มคล้ายกับยาง แนะนำให้ใช้หลอดเล็กจะสามารถควบคุมปริมาณกาวไม่ให้ไหลเยิ้มได้ดีกว่าหลอดใหญ่ครับ หรืออีกเทคนิคคือหยอดกาวไว้ที่แผ่นรองก่อนจากนั้นนำชิ้นส่วนโมเดลไปป้ายกับกาว ก่อนที่จะนำมาประกอบงานโมเดลจะช่วยลดอาการกาวเยิ้มเลอะเทอะเนื่องจากเนื้อกาวเยอะเกินไปได้ แต่กาวชนิดนี้จะมีปัญหาที่เวลายืดออกจะมีลักษณะเป็นเส้นใยบางๆ ต้องระวังให้ดีครับเพราะอาจจะเลอะงานได้     ...

เผยเทคนิคการทำโมเดลจากประสบการณ์ตรงสำหรับน้องๆนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ ตอนที่ 2 วัสดุและถิ่นที่อยู่

รูปภาพ
       หลังจากที่ทราบถึงการแบ่งประเภทของโมเดลตามวัสดุกันแล้ว ( สามารถย้อนกลับไปอ่านตอนที่ 1 ได้ที่ http://mayamaver.blogspot.com/2017/07/1.html ) ขั้นตอนต่อไปเรามาทราบถึงเทคนิคการใช้วัสดุแต่ละอย่างและสถานที่ที่สามารถหาซื้อกันได้กันครับ โดยเราจะอธิบายการใช้งานวัสดุตามความเหมาะสมกับกระบวนการออกแบบเป็นหลักนะครับ         1. กระดาษ เป็นวัสดุที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เริ่มต้นทำโมเดล เพราะเราจะคุ้นเคยการใช้กระดาษในการทำสิ่งต่างๆ ตั้งแต่เด็ก โดยสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไปได้ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้เรียนในคณะออกแบบผลิตภัณฑ์มา เราจะนำกระดาษมาใช้ทำ Study Model เพื่อศึกษาสิ่งที่เราออกแบบบนกระดาษ Sketch ให้ออกมาในรูปแบบสามมิติ เพื่อเช็ครูปทรง และ ทดสอบการใช้งานเบื้องต้น เหตุผลที่เลือกใช้กระดาษเพราะมีราคาถูก หาซื้อง่าย สามารถตัดแปะได้รวดเร็ว         2. โฟม เป็นวัสดุที่เหมาะสมกับงานที่มีระยะเวลาน้อย เพราะการใช้งานโฟมทำโมเดลจะเป็นในลักษณะการตัด การเฉือน ให้ได้รูปทรงสามมิติตามที่ต้องการ จะรวดเร็วกว่าการขึ้นรูปจากวัสดุท...

เผยเทคนิคการทำโมเดลจากประสบการณ์ตรงสำหรับน้องๆนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ ตอนที่ 0 เกริ่นนำ

    เนื่องจากทางเราเป็นบริษัทผลิตโมเดลและได้มีน้องๆนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และ คณะด้านการออกแบบต่างๆ ให้ความสนใจและติดต่อสอบถามการสั่งทำโมเดลเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่ทางบริษัทเราไม่มีนโยบายในการรับทำงานให้นักศึกษา โดยทางเราต้องการให้น้องๆนักศึกษาได้เรียนรู้และได้รับทราบถึงกระบวนการออกแบบอย่างครบถ้วนเพราะว่าการทำโมเดลนั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในการออกแบบสำหรับใช้ในการเช็ครูปทรง การผลิต หรือ การใช้งาน เพื่อแก้ไขสิ่งที่เราออกแบบมานั้นให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด  เพื่อให้น้องๆได้รับประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์แก่ตัวน้องๆนักศึกษาเอง ภายในอนาคต ท างเราจึงนำเทคนิคในการทำโมเดลที่ได้สั่งส่มประสบการณ์มาเป็นความรู้ให้แก่น้องๆ นักศึกษารวมถึงบุคคลทั่วไปเพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในวิชาเรียนหรือการประกอบอาชีพในภายภาคหน้าได้       ทั้งนี้ถ้าหากต้องการปรึกษาหรือคำแนะนำสามารถติดต่อเรามาได้ที่   https://www.facebook.com/maya.studio.model

เผยเทคนิคการทำโมเดลจากประสบการณ์ตรงสำหรับน้องๆนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ ตอนที่ 1 ประเภทของโมเดล

รูปภาพ
      ในขั้นตอนแรกนี้เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับประเภทของโมเดลกันดีกว่า โดยเราจะแบ่งประเภทของโมเดลตามวัสดุที่ใช้ในการทำโมเดล เพราะการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงานสามารถช่วยให้งานโมเดลที่ออกมาดูสวยงามและช่วยประหยัดเวลาในการทำได้อย่างมากเลยครับ โดยตัวอย่างที่ทางเรานำมาให้รับชมจะมีงานโมเดลบางงานที่นำรูปภาพมาจากในอินเตอร์เน็ตโดยผมจะใส่เครดิตไว้ให้ เพราะบางวัสดุทางเราไม่ได้ใช้ในการผลิตโมเดลแล้วครับ มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ             1.โมเดลที่ทำมาจากกระดาษ เหมาะสมกับงานออกแบบที่มีลวดลายกราฟฟิคที่สามารถ Print จากคอมพิวเตอร์ได้ มีลวดลายที่สวยงามเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นทำงานโมเดล เพราะเราสามารถ Print กระดาษเป็นลาย Graphic ได้เลยไม่จำเป็นต้องทำสี เราจะเห็นโมเดลทำจากกระดาษ เช่น โมเดลบ้าน โมเดลสถาปัตยกรรม งานแพคเกจ แต่ข้อเสียของโมเดลกระดาษคือไม่สามารถขึ้นรูปทรงที่มีความโค้งหลายแกนหรือรูปทรงแบบฟรีฟอร์มได้ยากกว่าวัสดุอื่นๆ อุปกรณ์ที่ใช้ ไม้บรรทัด คัตเตอร์ กรรไกร กาว และอื่นๆ  ตัวอย่างงานโมเดลกระดาษ ที่มา : http://portfolios.archite...