เผยเทคนิคการทำโมเดลจากประสบการณ์ตรงสำหรับน้องๆนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ ตอนที่ 2 วัสดุและถิ่นที่อยู่
หลังจากที่ทราบถึงการแบ่งประเภทของโมเดลตามวัสดุกันแล้ว ( สามารถย้อนกลับไปอ่านตอนที่ 1 ได้ที่ http://mayamaver.blogspot.com/2017/07/1.html ) ขั้นตอนต่อไปเรามาทราบถึงเทคนิคการใช้วัสดุแต่ละอย่างและสถานที่ที่สามารถหาซื้อกันได้กันครับ โดยเราจะอธิบายการใช้งานวัสดุตามความเหมาะสมกับกระบวนการออกแบบเป็นหลักนะครับ
1. กระดาษ เป็นวัสดุที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เริ่มต้นทำโมเดล เพราะเราจะคุ้นเคยการใช้กระดาษในการทำสิ่งต่างๆ ตั้งแต่เด็ก โดยสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไปได้ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้เรียนในคณะออกแบบผลิตภัณฑ์มา เราจะนำกระดาษมาใช้ทำ Study Model เพื่อศึกษาสิ่งที่เราออกแบบบนกระดาษ Sketch ให้ออกมาในรูปแบบสามมิติ เพื่อเช็ครูปทรง และ ทดสอบการใช้งานเบื้องต้น เหตุผลที่เลือกใช้กระดาษเพราะมีราคาถูก หาซื้อง่าย สามารถตัดแปะได้รวดเร็ว
2. โฟม เป็นวัสดุที่เหมาะสมกับงานที่มีระยะเวลาน้อย เพราะการใช้งานโฟมทำโมเดลจะเป็นในลักษณะการตัด การเฉือน ให้ได้รูปทรงสามมิติตามที่ต้องการ จะรวดเร็วกว่าการขึ้นรูปจากวัสดุที่เป็นแผ่น เช่น กระดาษ พลาสติก และอื่นๆ โดยในกระบวนการออกแบบเราจะนำมาใช้ทำ Study Model เช่นกันเพื่อประหยัดระยะเวลาในการทำงานลง ราคาถูก มีความหนาสามารถนำมาซ้อนกันและขึ้นรูปได้เร็ว และอีกผลหนึ่งคืองานออกแบบผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะมีรูปทรงที่มีความโค้ง เว้า เยอะเราเลยเลือกใช้โฟมมาทำนั่นเอง แต่ข้อควรระวังคือการทำสี โฟมจะละลายถ้าโดนสีที่มีส่วนผสมของทินเนอร์ดังนั้นเราจึงเลือกใช้สีน้ำผสมพลาสติกหรือเราต้องใช้น้ำยาเคลือบโฟมPS เคลือบผิวหน้าโฟมก่อนทำสีด้วยสีสเปรย์ หรือสีที่มีส่วนผสมของทินเนอร์
3. พลาสติก ประเภทของพลาสติกที่ใช้บ่อยที่สุดคือ ABS และ Acrylic เพราะวัสดุ 2 ประเภทนี้ผลิตออกมาเป็นแผ่นเราสามารถใช้เครื่องตัดเลเซอร์ในการช่วยตัดชิ้นงานออกมาเป็นชิ้นส่วนโมเดลเพื่อนำมาประกอบชิ้นงานที่เราได้ออกแบบไว้ โดยเทคนิคการเขียนไฟล์งานสำหรับการประกอบเลเซอร์เราจะพูดถึงในตอนต่อไป ด้วยเหตุผลที่ว่าพลาสติกเป็นวัสดุที่ใช้ในการผลิต ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จึงเป็นวัสดุ
เหมาะสมกับการใช้งานทำโมเดลตัวต้นแบบ ( Prototype ) เพื่อให้งานโมเดลที่ทำออกมาใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด รวมถึงการทำสีด้วยสีสเปรย์หรือสีพ่นอุตสาหกรรมจะมีลักษณะความเงางาม และใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์จริง เราสามารถหาซื้อพลาสติกได้ตามร้านขายเครื่องเขียนบางร้าน หรือ จะไปที่แหล่งขายใหญ่เลยคือ วงเวียน 22 มีพลาสติกให้เลือกมากมายเลยครับ
4. ไม้ โดยปกติเราจะใช้ไม้ในการทำต้นแบบของ Furniture เพราะการที่เราใช้วัสดุจริงมาทำตัวต้นแบบ จะทำให้เราได้เรียนรู้ถึงกระบวนการผลิต Furniture และเข้าใจถึงการออกแบบ Furniture ได้มากขึ้น หากเป็นโมเดลขนาดเล็กเราไม่แนะนำให้ใช้ไม้ทำเพราะว่าการใช้ไม้ผลิตโมเดลขนาดเล็กใช้เวลานาน และต้องใช้เครื่องมือมากมายในการ ตัด เจาะ และ ประกอบ จะทำให้เสียเวลามาก สามารถหาซื้อได้จำนวนมากที่ บางโพธิ์ ครับ
5. ไฟเบอร์กลาส เหมาะกับงานประติมากรรมขนาดใหญ่ หรืองานที่ต้องการทำซ้ำเป็นจำนวน เพราะเราต้องทำตัวต้นแบบก่อนเพื่อนำไปทำแม่พิมพ์จึงใช้เวลามากในการผลิต ไฟเบอร์กลาสมีความแข็งแรงมากเหมาะกับงานที่ต้องรับแรงกดทับได้ดี เราจะพบเห็นงานไฟเบอร์กลาสได้ตามร้านทำกันชนรถยนต์ เราสามารถหาซื้อได้ตามอินเตอร์เน็ต หรือ ร้านขายวัสดุไฟเบอร์กลาสเฉพาะทางครับ
6. เรซิ่น เหมาะกับงานที่ต้องการทำซ้ำเป็นจำนวนมาก แต่เราต้องทำตัวต้นแบบในเรียบร้อยที่สุดก่อนจากนั้นนำไปทำแม่พิมพ์ และหล่อชิ้นงานให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ การหล่ออาจจะมีเสียหายบ้างเป็นเรื่องธรรมดา เราสามารถหล่องานเผื่อจำนวนตามที่ต้องการไว้จากนั้นเลือกตัวที่เรียบร้อยที่สุดมาขัดเก็บและทำสี สามารถหาซื้อได้ตามอินเตอร์เน็ต หรือ ร้านขายวัสดุไฟเบอร์กลาสเฉพาะทางครับ
7. โลหะ เหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน หรือจะนำไปใช้เป็นโครงสร้างภายในของงานโมเดลเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เหล็กมีหลายชนิดให้เลือกใช้แต่การใช้งานต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสม อย่าลืมทำสีกันสนิมก่อนการทำสีจริงนะครับ สามารถหาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไปเลยครับ
ปัจจัยในการเลือกใช้วัสดุในการทำโมเดลนั้นขึ้นอยู่กับความถนัดและความสามารถส่วนบุคคลของแต่ละคน งานโมเดล 1 ชิ้นไม่จำเป็นต้องเป็นวัสดุเดียวเสมอไป เราสามารถนำหลายๆวัสดุมาพลิกแพลงการใช้งานตามความเหมาะสมของงานออกแบบได้ อีกปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการทำงานโมเดลนั่นคือ เวลาที่มีจำกัด การวางแผนเลือกวัสดุก่อนการทำงานจะช่วยให้น้องๆ ลดระยะเวลาในการทำงานได้อย่างมาก และขอให้คำนึงถึงความเป็นจริงในการผลิตด้วยระบบอุตสาหกรรมเสมอว่าสามารถผลิตได้มั้ย ผลิตอย่างไร เพราะในระบบอุตสาหกรรมเราไม่ได้ผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายเพียงชิ้นเดียวอย่างแน่นอนครับ
1. กระดาษ เป็นวัสดุที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เริ่มต้นทำโมเดล เพราะเราจะคุ้นเคยการใช้กระดาษในการทำสิ่งต่างๆ ตั้งแต่เด็ก โดยสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไปได้ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้เรียนในคณะออกแบบผลิตภัณฑ์มา เราจะนำกระดาษมาใช้ทำ Study Model เพื่อศึกษาสิ่งที่เราออกแบบบนกระดาษ Sketch ให้ออกมาในรูปแบบสามมิติ เพื่อเช็ครูปทรง และ ทดสอบการใช้งานเบื้องต้น เหตุผลที่เลือกใช้กระดาษเพราะมีราคาถูก หาซื้อง่าย สามารถตัดแปะได้รวดเร็ว
2. โฟม เป็นวัสดุที่เหมาะสมกับงานที่มีระยะเวลาน้อย เพราะการใช้งานโฟมทำโมเดลจะเป็นในลักษณะการตัด การเฉือน ให้ได้รูปทรงสามมิติตามที่ต้องการ จะรวดเร็วกว่าการขึ้นรูปจากวัสดุที่เป็นแผ่น เช่น กระดาษ พลาสติก และอื่นๆ โดยในกระบวนการออกแบบเราจะนำมาใช้ทำ Study Model เช่นกันเพื่อประหยัดระยะเวลาในการทำงานลง ราคาถูก มีความหนาสามารถนำมาซ้อนกันและขึ้นรูปได้เร็ว และอีกผลหนึ่งคืองานออกแบบผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะมีรูปทรงที่มีความโค้ง เว้า เยอะเราเลยเลือกใช้โฟมมาทำนั่นเอง แต่ข้อควรระวังคือการทำสี โฟมจะละลายถ้าโดนสีที่มีส่วนผสมของทินเนอร์ดังนั้นเราจึงเลือกใช้สีน้ำผสมพลาสติกหรือเราต้องใช้น้ำยาเคลือบโฟมPS เคลือบผิวหน้าโฟมก่อนทำสีด้วยสีสเปรย์ หรือสีที่มีส่วนผสมของทินเนอร์
3. พลาสติก ประเภทของพลาสติกที่ใช้บ่อยที่สุดคือ ABS และ Acrylic เพราะวัสดุ 2 ประเภทนี้ผลิตออกมาเป็นแผ่นเราสามารถใช้เครื่องตัดเลเซอร์ในการช่วยตัดชิ้นงานออกมาเป็นชิ้นส่วนโมเดลเพื่อนำมาประกอบชิ้นงานที่เราได้ออกแบบไว้ โดยเทคนิคการเขียนไฟล์งานสำหรับการประกอบเลเซอร์เราจะพูดถึงในตอนต่อไป ด้วยเหตุผลที่ว่าพลาสติกเป็นวัสดุที่ใช้ในการผลิต ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จึงเป็นวัสดุ
เหมาะสมกับการใช้งานทำโมเดลตัวต้นแบบ ( Prototype ) เพื่อให้งานโมเดลที่ทำออกมาใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด รวมถึงการทำสีด้วยสีสเปรย์หรือสีพ่นอุตสาหกรรมจะมีลักษณะความเงางาม และใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์จริง เราสามารถหาซื้อพลาสติกได้ตามร้านขายเครื่องเขียนบางร้าน หรือ จะไปที่แหล่งขายใหญ่เลยคือ วงเวียน 22 มีพลาสติกให้เลือกมากมายเลยครับ
4. ไม้ โดยปกติเราจะใช้ไม้ในการทำต้นแบบของ Furniture เพราะการที่เราใช้วัสดุจริงมาทำตัวต้นแบบ จะทำให้เราได้เรียนรู้ถึงกระบวนการผลิต Furniture และเข้าใจถึงการออกแบบ Furniture ได้มากขึ้น หากเป็นโมเดลขนาดเล็กเราไม่แนะนำให้ใช้ไม้ทำเพราะว่าการใช้ไม้ผลิตโมเดลขนาดเล็กใช้เวลานาน และต้องใช้เครื่องมือมากมายในการ ตัด เจาะ และ ประกอบ จะทำให้เสียเวลามาก สามารถหาซื้อได้จำนวนมากที่ บางโพธิ์ ครับ
5. ไฟเบอร์กลาส เหมาะกับงานประติมากรรมขนาดใหญ่ หรืองานที่ต้องการทำซ้ำเป็นจำนวน เพราะเราต้องทำตัวต้นแบบก่อนเพื่อนำไปทำแม่พิมพ์จึงใช้เวลามากในการผลิต ไฟเบอร์กลาสมีความแข็งแรงมากเหมาะกับงานที่ต้องรับแรงกดทับได้ดี เราจะพบเห็นงานไฟเบอร์กลาสได้ตามร้านทำกันชนรถยนต์ เราสามารถหาซื้อได้ตามอินเตอร์เน็ต หรือ ร้านขายวัสดุไฟเบอร์กลาสเฉพาะทางครับ
6. เรซิ่น เหมาะกับงานที่ต้องการทำซ้ำเป็นจำนวนมาก แต่เราต้องทำตัวต้นแบบในเรียบร้อยที่สุดก่อนจากนั้นนำไปทำแม่พิมพ์ และหล่อชิ้นงานให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ การหล่ออาจจะมีเสียหายบ้างเป็นเรื่องธรรมดา เราสามารถหล่องานเผื่อจำนวนตามที่ต้องการไว้จากนั้นเลือกตัวที่เรียบร้อยที่สุดมาขัดเก็บและทำสี สามารถหาซื้อได้ตามอินเตอร์เน็ต หรือ ร้านขายวัสดุไฟเบอร์กลาสเฉพาะทางครับ
7. โลหะ เหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน หรือจะนำไปใช้เป็นโครงสร้างภายในของงานโมเดลเพื่อเพิ่มความแข็งแรง เหล็กมีหลายชนิดให้เลือกใช้แต่การใช้งานต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสม อย่าลืมทำสีกันสนิมก่อนการทำสีจริงนะครับ สามารถหาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างทั่วไปเลยครับ
ปัจจัยในการเลือกใช้วัสดุในการทำโมเดลนั้นขึ้นอยู่กับความถนัดและความสามารถส่วนบุคคลของแต่ละคน งานโมเดล 1 ชิ้นไม่จำเป็นต้องเป็นวัสดุเดียวเสมอไป เราสามารถนำหลายๆวัสดุมาพลิกแพลงการใช้งานตามความเหมาะสมของงานออกแบบได้ อีกปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการทำงานโมเดลนั่นคือ เวลาที่มีจำกัด การวางแผนเลือกวัสดุก่อนการทำงานจะช่วยให้น้องๆ ลดระยะเวลาในการทำงานได้อย่างมาก และขอให้คำนึงถึงความเป็นจริงในการผลิตด้วยระบบอุตสาหกรรมเสมอว่าสามารถผลิตได้มั้ย ผลิตอย่างไร เพราะในระบบอุตสาหกรรมเราไม่ได้ผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายเพียงชิ้นเดียวอย่างแน่นอนครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น